รถยนต์นำเข้าจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง


2020-10-23 14:13:58

รถเล็กๆน่ารักน่ารักจากประเทศญี่ปุ่น หรือ รถคุณภาพดีดีจากฝั่งยุโรป ถึงได้มีราคาขายที่สูงมากกว่าราคาเปิดตัวที่อยู่ในต่างประเทศอยู่หลายเท่าตัว สาเหตุหลักที่ทำให้ราคารถยนต์นำเข้าในประเทศไทยมีราคาสูงนั้นก็คือภาษีต่างๆเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์ บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจว่ารถยนต์นำเข้าจะต้องเสียภาษีอะไรบ้าง


การคิดคำนวณภาษีรถยนต์นำเข้านั้นจะมีภาษีหลายตัวที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อีกทั้งยังมีข้อยกเว้นภาษีเขตการค้าที่ประเทศไทยนั้นได้ทำของตกลงกับประเทศต่างๆ 

เริ่มต้นกันที่ CIF ย่อมาจาก Cost Insurance and Freight คือ ราคาขายรถยนต์ที่ประเทศต้นทาง + ค่าประกัน + ค่าขนส่งจากประเทศต้นทาง

ยกตัวอย่างเช่น ราคารถยนต์ที่ประเทศต้นทางอยู่ที่ 500,000 บาท เมื่อบวกค่าประกันและค่าขนส่งจากประเทศต้นทางแล้ว อาจทำให้ราคาทั้งหมดนั้นอยู่ที่ 70,000บาท  ซึ่งจะเรียกราคานี้ว่า ราคา CIF 


รถนำเข้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง???


1.อากรขาเข้า คือการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้า เพื่อนำมาใช้บริโภคในราชอาณาจักร จะมีหลักการประเมิณอยู่ 3 แบบคือ 1.ตามสภาพสินค้า 2.ราคาสินค้า 3.พิกัดของอัตราศุลกากร

โดยส่วนใหญ่ค่าอาการขาเข้าของรถยนต์นำเข้าจะอยู่ที่ 80% ของราคา CIF ซึ่งตัวเลข 80% นี้จะมีการปรับลดหรือยกเว้นการจัดเก็บก็ต่อเมื่อรถยนต์ที่นำเข้ามานั้นมาจากประเทศที่ได้ทำข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทยโดยตรงหรือกับกลุ่มอาเซียนนั้นเอง 

*จากเขตการค้าเสรี FTA  ที่ประเทศไทยได้บรรลุข้อตกลงกับประเทศจีนทำให้ ผู้นำเข้ารถยนต์แบน MG นั้นได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าอาการขาเข้า

จากตัวอย่างทางด้านบน ราคา CIF อยู่ที่ 700,000 บาท

ค่าอากรขาเข้า = ราคา CIF 80% = 700,000 80% = 560,000 บาท


2.ภาษีสรรพสามิต ตามหลักของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต รถยนต์นั้นถือว่าเป็นสินค้าและบริการที่มีลักษณะฟุ่มเฟือยและต้องมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตไม่ว่าจะเป็นรถนำเข้าหรือรถที่ผลิตในประเทศก็ตามจะต้องจ่ายค่าภาษีสรรพสามิตทุกคัน ในปัจจุบันการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของรถยนต์นั้นจะมีโครงสร้างการจัดเก็บดังต่อไปนี้

 

จากภาพจะเห็นว่า การจ่ายภาษีสรรพสามิตนั้นจะใช้หลักการแบ่งอยู่ 3 ประเภทคือ 1.ประเภทของรถ 2.ขนาดของเครื่องยนต์ 3.ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับการคำนวณภาษีสรรพสามิตนั้นจะมีสูตรคำนวณดังต่อไปนี้ 

ภาษีสรรพสามิต  = (ราคา CIF  + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี / 1 – ( 1.1 x อัตราภาษี ) 


โดยที่อัตราภาษีในสูตรคำนวณจะมาจาก ตารางด้านบน

จากตัวอย่างด้านบน

ราคา CIF = 700,000

อากรขาเข้า = 560,000

อัตราภาษี = 30%

ภาษีสรรพสามิต = (ราคา CIF  + อากรขาเข้า + ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี / 1 – ( 1.1 x อัตราภาษี )

ภาษีสรรพสามิต = (700,000  + 560,000) x 30% / 1 – ( 1.1 x 30% )

                          = 564,179 บาท


ภาษีเพื่อมหาดไทย คือภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บเพิ่มขึ้น เพื่อนำไปจัดสรรให้กับกรุงเทพมหานคร และราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งคิดเป็น 10% ของภาษีสรรพสามิต 


ภาษีเพื่อมหาดไทย = ภาษีสรรพสามิต x อัตราภาษีเพื่อมหาดไทย (10%)


จากตัวอย่างด้านบน

ภาษีเพื่อมหาดไทย  = ภาษีสรรพสามิต 10%

                             = 564,179 10%

                             = 56,417.9 บาท


ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่จัดเก็บจากมูลค่าการซื้อขายหรือการให้บริการและสินค้านำเข้า โดยจะคิดเป็น 7% ของสินค้าและบริการ หลักการคิดคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะมีความคล้ายกับการคิดอากรขาเข้า 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม=(ราคา CIF + อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%)


จากตัวอย่างด้านบน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม=(ราคา CIF + อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (7%)

                     =(700,000 + 560,000 + 564,179 + 56,417.9) x  7%

                     =131,641.78 บาท

ในการนำเข้ารถยนต์มาจำหน่ายในประเทศไ่ทยนั้นผู้นำเข้าจะต้องจ่ายภาษีทั้งหมด 4 ประเภท 

1.อากรขาเข้า

2.ภาษีสรรพสามิต

3.ภาษีเพื่อมหาดไทย

4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อปรียบเทียบราคารถยนต์ที่แท้จริงจากประเทศต้นทางกับราคาที่จำหน่ายในประเทศไทยนั้น จะพบว่าราคารถยนต์นำเข้าในประเทศไทยจะสูงกว่าราคาจากประเทศต้นทางอยู่ประมาณ 400% แต่ถ้าเปรียบเทียบกับราคา CIF ก็จะต่างกันเกือบ 300% ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการคำนวนคร่าวๆ ซึ่งจะยังไม่รวมกับค่าใช้จ่ายแฝง เช่น การตลาด โฆษณา และการจัดการ 

ราคารถยนต์ที่ประเทศต้นทาง
= 500,000
ราคารถยนต์นำเข้าที่จำหน่ายในประเทศไทย
= ราคา CIF + อากรขาเข้า + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีมหาดไทย + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

= 700,000 + 560,000 +564,179 + 56,417.9 + 131,641.78

= 2,011,968.68



จากภาษีการนำเข้ารถยนต์ทั้งหมดจะเห็นว่ามีภาษีหลักๆ อยู่ 3 ประเภทที่จะมีมูลค่าสูง ซึ่งทั้ง 3 ประเภทก็จะมีฐานการคำนวณมาจากราคา CIF เพราะฉะนั้นหากลองพิจารณาแล้วถ้าราคา CIF ต่ำลง 100,000 ก็จะส่งผลให้ราคาจำหน่ายรถยนต์นำเข้าลดลงไปด้วย ทำให้ผู้นำเข้ารถยนต์นั้นจำเป็นที่จะต้องตัดสเปคต่างๆ ของตัวรถยนต์ออกเพื่อทำให้ราคา CIF นั้นต่ำลงส่งผลให้คุณภาพของรถยนต์นำเข้านั้นลดลงไปด้วย


ภาครัฐจะปรับลดภาษีได้หรือไม่??

คงเป็นเรื่องที่หลายๆ คนถกเถียงกันมานานสำหรับการจ่ายอากรขาเข้าและภาษีสรรพสามิต หากลองคิดดูนะครับว่าถ้าปรับลดขึ้นมาจริงๆ จะเกิดอะไรบ้าง

1.ปรับลดอากรขาเข้า จะส่งผลให้ราคารถยนต์นำเข้านั้นลดต่ำลง ดีต่อใจผู้บริโภคเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็จะส่งผลให้รถยนต์ที่ผลิตในประเทศได้รับความนิยมน้อยลงตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ รถยนต์ค่าย MG ที่ได้รับข้อยกเว้น การเก็บอากรขาเข้าจาก สัญญา FTA ที่ไทยทำข้อตกลงกับจีน

2.ปรับลดภาษีสรรพสามิต ภาษีในส่วนนี้จะเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อนำเอามาใช้บริโภคภายในประเทศหากมีการปรับลดก็จะส่งผลให้เงินใช้จ่ายในประเทศนั้นลดลงและอาจจะส่งผลต่องบประมาณต่างๆได้ แต่ถ้ามีการปรับลดภาษีสรรพสามิตในส่วนของรถยนต์ก็จะทำให้ราคารถยนต์ที่จำหน่ายในไทยนั้นลดลงตามไปด้วยทั้งรถยนต์ที่ผลิตในประเทศและนำเข้า ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคอย่างเราๆ นั้นมีโอกาสเข้าถึงรถยนต์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัยสูงกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นรถยนต์คันแรกที่มีส่วนลด 100,000 บาท ซึ่งเป็นการลดภาษีสรรพสามิตนั้นเอง



ผู้จัดการส่วนตัวของคุณ ที่ช่วยให้การซื้อ-ขาย รถมือสองเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ


Email: info.carbutler@gmail.com

Tel: 091 914 2555
LINE: @carbutlerth



Find CAR Butler here


Copyright ® 2020 CARBUTLER

เราใช้ cookies เพื่อเพิ่มประสบการณ์การซื้อสินค้าของคุณ กด ยอมรับ เพื่อเลือกซื้อสินค้าต่อ หรือตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบาย cookies ของเราได้ ที่นี่